วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การปลูกมะขามหวาน








การปลูกมะขามหวาน  มะขาม มีแหล่งกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน  เป็นไม้ป่าแถบสะวันนาได้นำเข้าไปปลูกใน อินเดีย   และต่อมาได้แพร่กระจายทั่วไปในเอเชียและเขตร้อนอื่น ๆ  ประเทศไทย จัดว่าเป็นแหล่งปลูกมะขามเปรี้ยวและมะขามหวานที่ใหญ่ที่สุด   พบว่ามีการ ปลูกมะขามหวานกันมานานแล้วในภาคเหนือของไทย   โดยเฉพาะที่อำเภอหล่ม เก่า  จังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดมะขามหวานพันธ์หมื่นจง  สีทอง  และ อินทผลัม  ที่มีชื่อที่สุด   นอกจากนั้นยังพบในบางจังหวัดทางภาค อีสาน  ปัจจุบันได้มีการคัดเลือกขยายพันธุ์และปลูกเป็นอาชีพเกือบทุกภาคของ ประเทศไทย  คาดว่าในอนาคตอาจจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจทำรายได้ให้แก่ประเทศ









การปลูกกล้วยน้ำหว้า


การปลูกกล้วยน้ำว้า
การปลูกกล้วยน้ำว้ากล้วยเป็นพืชเมืองร้อนชนิดหนึ่งถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีมากที่สุด เพราะสามารถใช้ทุกส่วนของต้น ผลสามารถใช้รับประทานผลสุกและประกอบอาหารได้มากชนิด รวมทั้งผลิตภัณฑ์สามารถส่งขายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ถ้าหากมีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่าเดิม และมีการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จะสามารถทำรายได้ให้ประเทศได้มาก กล้วยมีหลายชนิด ที่รู้จักกันดีและปลูกกันแพร่หลายในบ้านเรา ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายขึ้นได้ในที่ทั่วไป โดยเฉพาะอากาศร้อนชื้นและบริเวณที่มีดินฟ้าอากาศสม่ำเสมอจะสามารถเจริญเติบโตติดต่อกันไป และตกเครือตลอดทั้งปี

กล้วยน้ำว้าเป็นพืชบ้านที่ทุกคนรู้จักดี ปลูกง่ายโตเร็ว.. ออกดอกผล ให้แล้วก็จากไปพร้อมกับทิ้งทายาทใหม่ ขยายพันธุ์มากมาย กล้วยน้ำว้า เป็นผลไม้ เป็นผัก เป็นอาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง ส่วนต่าง ๆ ของกล้วยใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น อาหารสัตว์ เป็นภาชนะ เป็นวัสดุอุปกรณ์ เป็นของเล่น และเป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรมหลายอย่าง


ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้างเล็กน้อย
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายป้าน ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็นกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำว้าแดง และกล้วยน้ำว้าขาว

การปลูกไผ่เลี้ยง

พันธุ์ไผ่เลี้ยง           1.พันธ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ปกติในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – สิงหาคม) แต่ถ้าจะผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับทุน 2.พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่สามารถให้หน่อไผ่ ตกในช่วงฤดูฝน และสามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยแล้วจะให้หน่อทันที ถ้าเกษตรกรปลูกมีการบำรุงรักษาดี ผลผลิตก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่จะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อ ควรปลูกพันธุ์เบา

 
การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสวนไผ่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่เลี้ยง ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว ดินโคกลูกรัง การเจริญเติบโต และการให้หน่อจะไม่ดี



วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผักหวานบ้าน

 
 
 
ต้องมีการเก็บแบบสลับกันเพื่อที่จะเก็บได้ทุกวันซึ่งผักหวานที่เก็บยอดแล้วจะสามารถเก็บได้อีกครั้งประมาณ 14 วัน
จากนั้นก็นำมาตัดแต่งให้ยอดมีความยาวประมาณ 25 ซม.แล้วมัดเป็นกำๆ (กำละประมาณ 2 ขีด)
จะขายได้ในราคากำละประมาณ 6-7 บาท
เทคนิคที่สำคัญในการปลูกผักหวานคือเร่งให้ผักหวานออกยอดเร็วคือการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งที่เก็บยอดหลังจากนั้นให้ฉีดพ่นปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือปุ๋ยเกล็ดก็ได้จะทำให้ได้ยอดผักหวานที่สวย ยอดยาว ยอดอวบใบสวย
ข้อดีของการปลูกผักหวานบ้าน

ผักหวานปลูกครั้งเดียวก็สามารถเก็บเกี่ยวได้นานหลายปีถ้ามีการดูแลรักษาที่ดี
ผักหวานบ้านเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนต่อโรคทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา
ตลาดมีความต้องการสูงมีเท่าไหร่ก็ขายได้หมด
ราคาดีมีความคงที่
ให้ยอดทั้งปีไม่มีการทิ้งช่วงหรือรอฤดูกาล

ผักหวานบ้าน มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายมีสารอาหารหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี มีเบต้า-แคโรทีน สารต้านมะเร็งเป็นตัวนำ ตามด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสเพื่อกระดูกแข็งแรง ต่อด้วยแมกนีเซียมช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ

 

ส่วนของผักหวานบ้านที่นำมาใช้กินเป็นผัก ก็คือ ใบและยอดอ่อน โดยใช้เป็นผักจิ้ม ซึ่งนิยมลวกให้สุกเสียก่อน หรือนำไปแกง เช่น แกงเลียง หรือแกงจืด นอกจากนั้นยังนำไปผัด เช่น ผัดน้ำมันหอย เป็นต้น น่าสังเกตว่า ชนิดอาหารที่ปรุงจากผักหวานบ้าน ไม่ว่าจะเป็นผักจิ้ม แกงเลียง แกงจืด หรือผัดน้ำมันหอย ล้วนแล้วแต่มีเครื่องปรุงแต่งน้อย เพต้องการให้ได้รสชาติของผักหวานบ้านมากเป็นพิเศษ เพราะถือว่ามีรสชาติดีกว่าผักทั่วไป หากสมาชิกครูบ้านบอกได้ผ่านมาทางยโสธร ตอนเย็นที่ตลาดสดบ้านตาดทอง มีผักหวานบ้านสดๆ ใหม่ๆ มากมาย (ชาวบ้านแถวนี้เขาปลูกผักขาย) ราคาก็แสนถูก ถาดละ 10 บาท (กองใหญ่) ถ้าคุณนำไปทำอาหารร่วมกับไข่มดแดง (ที่ตลาดตาดทองมีเยอะแยะ สด ๆ จากรังเช่นกัน) แซบอย่าบอกใครเชียว

ประโยชน์ด้านอื่นๆของผักหวานบ้าน
นอกจากด้านอาหารแล้วผักหวานบ้านยังมีสรรพคุณด้านยาหลายประการ เช่น ในตำราสรรพคุณสมุนไพร ระบุว่า
ราก : เป็นยาถอนพิษร้อน พิษไข้ พิษทราง ถอนพิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ แก้ขัดเบา แก้ไอ แก้คางทูม คอพอก แผลฝีใบ : ปรุงเป็นยาเขียวกระทุ้งพิษ เป็นยาประสะน้ำนม ช่วยมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น แก้แผลฝี
 

ผักหวานป่า


ข้อ 10 เคล็ดลับการดูแล

  -การให้ปุ๋ยให้ปุ๋ยคอกเท่านั้น และที่มันชอบคือมูลโคที่เก็บสักครึ่งปี ผ่านการย่อยสลาย ให้ช่วงต้นฝนโรยรอบๆทรงพุ่ม ต้นละ 5 - 10 กก แล้วแต่ขนาดต้น มูลสัตว์อื่นต้องหมักอย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ไม่ควรให้เป็นดีที่สุด

   -ผักหวานชอบดินร่วน ดินลูกรัง หรือดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบดินเหนียวดินที่ระบายน้ำไม่ดี ไม่ชอบที่แฉะ เราจะพบผักหวานในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ป่าที่มีการทิ้งใบในหน้าแล้ง หรือ พบมากตามภูเขาแถว จ.ลำปาง ลำพูน ตาก กาญจนบุรี ที่มีหน้าแล้งชัดเจน เราจะพบว่าไฟไหม้ป่าจากล่าสัตว์และการเก็บของป่า ที่สำคัญก็คือ ผักหวาน เมื่อมีผักหวานคนเก็บของป่าจะใช้ไฟเผาเอาไข่มดแดงไฟก็จะไหม้ป่า และการเผาป่าของคนเก็บของป่าเพื่อจะให้ เห็ดถอบ หรือ เห็ดเผาะ มันเป็นเห็ดดิน พอเผาเสร็จ เมื่อฝนตกมันจะเกิดดีขึ้น คนเก็บของป่าเล่าให้ฟัง ตอนแรกไปทำงานทางเหนือสงสัยว่าไฟทำไมไหม้ป่าบ่อยพอไปถามคนเก็บของป่าเลยรู้ครับ การปลูกผักหวานช่วยลดโลกร้อน ตามกระแสรักโลกครับ

   -การบังคับผักหวานแทงช่อ ง่ายๆ คือ การรูดใบผักหวานจากกิ่งให้หมด จากนั้นรดน้ำวันเว้นวันครับ

  -ศัตรูพืชพอมีแต่ไม่มาก ที่พบคือ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยไฟ ที่ชอบมาดูดน้ำเลี้ยงตอนต้นยังเล็ก ในช่วงที่แล้งจัดๆ ฝนทิ้งช่วงนานๆ



   -สาเหตุที่ผมปลูกผักหวานเพราะผมขี้เกียจครับ ตอนเด็กๆผมอยู่ลพบุรีช่วงหน้าแล้งก็จะไปหาเก็บผักหวานป่า ตามป่าละเมาะ หรือชายเขา ไกลก็ไกล ร้อนมากช่วง เมษายน แดดโคตรร้อน มันจะมีอยู่ไม่กี่จุด และไม่มีการบอกกัน ถ้าไปช้าจะโดนเก็บไปก่อน เดินไปฟรี ถ้ารอให้มันออกช่อใหม่ก็ช้าไป จึงเป็นที่มาของการพยายามปลูกผักหวานของผม ตอนนี้หน้าแล้งผมมีผักหวานกินตลอด ทุกปี

   -สุดท้าย ถ้าข้อมูลทีประโยชน์กับท่าน ก็ขอยกความดีให้คุณพ่อของผม ที่ปลูกและดูแล ผมเพียงหาเมล็ดให้ท่านปลูกเท่านั้นเองครับ เมื่อสวนหลังบ้านผมมีผักหวานโตขึ้น ปีหน้าจะเอามารายงานผู้ที่สนใจครับ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

การเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า



การเพาะเห็ดนางฟ้า ก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ด ควรจะประกอบด้วย
(1.) ดีเกลือ 5 ขีด (2.) ปูนขาว 10 กิโลกรัม (3.) รำอ่อน 10 กิโลกรัม

(4.) ขี้เลื้อยไม้ยางพารา 10 กระสอบ (5.) แป้งข้าวจ้าว 2 กิโลกรัม 


สำหรับวิธีการเตรียมวัสดุเพาะ ให้นำวัสดุทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มาผสมกัน เติมน้ำประมาณ 1 ถัง นำ มาคลุกเคล้ากัน แล้วนำไปอัดใส่ในถุงพลาสติกให้มีน้ำหนักถุงละ 1 กิโลกรัม ส่วนที่ปากถุงจะใช้จุกพลาสติกปิดเพื่อให้เห็ดสามารถออกดอกได้สะดวก

จากนั้น นำวัสดุที่เตรียมแล้ว ไปเข้าห้องเตาอบไอน้ำทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จึงน้ำออกมากจากเตาอบ แล้วมาเขี่ยเชื้อเห็ดใส่ลงในถุง จากนั้นตั้งผึ่งลมไว้ในที่โล่งโปร่งประมาณ 1 เดือน สังเกตดูจะเห็นเชื้อเห็ดเจริญเติบโตกระจายเต็มถุง แล้วจึงนำไปไว้ในโรงเรือนเพาะเห็ด

โรง เรือนเพาะเห็ดต้องเป็นโรงเรือนปิดทึบ และมีความชุ่มชื้น สำหรับวิธีการในการทำให้โรงเรือนมีความชุ่มชื้น ทำได้โดยการใช้น้ำรดวันละ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน และเย็น หลังจากนั้นไม่นาน เห็ดก็จะออกดอกและสามารถจะเก็บผลผลิตได้ทุกวันติดต่อกัน


ประโยชน์ของ การปลูกเห็ดนางฟ้า

มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย
และก็ยังมีสรรพคุณทางยา ที่ชาวจีนจัดว่า เป็นยาเย็น
ที่มีสรรพคุณช่วยลดไข้ เพิ่มพลังชีวิต แก้ร้อนใน
ช่วยให้หายหงุดหงิด บำรุงเซลล์ประสาท
สามารถรักษาอาการอัลไซเมอร์ และที่สำคัญยังสามารถ
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย


การเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า

การปลูกมะเขือเทศ





มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของมะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ที่ระหว่าง 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16 - 20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยมาก ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาว โดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย

การปลูกทำได้ 2 วิธี

1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1 - 2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30 - 40 กรัม หยอดลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าว หรือ หญ้าแห้งบางๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุมแปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย โรคที่สำคัญในแปลงกล้า คือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกัน ความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17 - 22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข้งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมาก หลังจากย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมักจะใช้กล้าอายุประมาณ 21 - 25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3 - 4 ใบ

2. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่าย แต่จะเสียเวลาและแรงงาน ในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80 - 100 กรัม ต่อไร่ สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร ระยะระหว่างต้น 25 - 50 ซม. ปลูก 1 ต้น ต่อ หลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ผลผลิตต่อ พื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่นๆ

การปฏิบัติดูแลรักษา
- การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตก หรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 - 40 % แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเตี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรคลุมให้ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป

- การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 - 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 - 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช

- การใส่ปุ๋ย
1. ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 30 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2,000 กก./ไร่ และโบแรกซ์ 4 กก./ไร่

2. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 7 - 10 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 46 - 0 - 0 หรือ 21 - 0 - 0 อัตรา 10 หรือ 20 กก./ไร่ ถ้าเปลี่ยนแปลงปลูกที่เคยปลูกผักกินใบ เช่น ผักชี มาก่อนควรใช้ปุ๋ย 13 - 13 - 21 แทน

3. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 21 - 25 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 30 กก./ไร่

4. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 40 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 13 - 13 - 21 อัตรา 30 กก./ไร่

5. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 60 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศค่อนข้างโทรมมีผลน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5

ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนเกินไปหรือมีฝนตกบ่อย ทำให้ต้นมะเขือเทศไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีอาการเฝือใบ อาจช่วยได้โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรต่างๆ ตามระยะการเจริญเติบโต เช่น ในระยะยังไม่ออกดอกอาจใช้ปุ๋ยใบสูตรเสมอ เช่น 25 - 25 - 25 ส่วนในระยะออกดอกแล้วควรใช้ปุ๋ยใบที่มีฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียมสูง เช่น 10 - 23 - 20 หรือ 10 - 30 - 20 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยใบที่มีธาตุอาหารรอง หลายชนิดอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส เหล็ก สังกะสี โบรอน จะช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

- การให้น้ำ ระยะที่มะเขือเทศต้องการน้ำมากคือ ช่วงแรกของการเติบโตและช่วงที่ผลกำลังขยายขนาด (ประมาณ 35 - 50 วัน หลังจากย้ายกล้า) สำหรับช่วงที่กำลังติดผล (20 -35 วัน) ไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่ต้องการการพรวนดิน เพื่อให้รากเจริญเติบโตลงไปได้ลึก และรากกระจายทางด้านข้างได้สะดวก

- การปักค้าง มีความจำเป็นมากเมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน หรือ ปลูกด้วยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแบบเลื้อย การปักค้างแบบค้างเดี๋ยวหรือแบบกระโจม จะช่วยให้ผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้นกว่าการไม่ปักค้าง 20 % และทำให้การฉีดยาป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติงานอื่นๆ ในแปลงสะดวกขึ้น นอกจากปักค้างแล้วต้องหมั่นผูกต้นมะเขือเทศติดกับค้างด้วย มิฉะนั้นแขนงที่เกิดใหม่จะเจริญเติบโตทอดไปกับดินทำให้ผลเน่าเสียหายได้

- การป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ โรคที่สำคัญ ได้แก่

1. โรคใบไหม้ เนื่องจากเชื้อ Alternaria และ Cercospora ระบาดเร็วมากเมื่ออุณหภูมิและความชื้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน การเด็ดใบด้านล่างที่เป็นโรคทิ้งจะช่วยให้การระบาดของโรคช้าลง

2. โรคใบหงิกจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกฤดูโดยมีแมลงหวี่ขาว และ เพลี้ยอ่อนเป็นพาหนะนำเชื้อ

3. โรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย มะเขือเทศเหี่ยวตายอย่างรวดเร็วขณะที่ลำต้นใบ ยังเขียวอยู่ไม่มียาป้องกันต้องใช้พันธุ์ต้านทานเท่านั้น ถ้าพบต้นเป็นโรคควรถอนทิ้งเผาไฟทันที

4. โรคเหี่ยวจากเชื้อสเคอโรเตี่ยม เกิดมากเมื่อดินมีความชื้นสูง จะพบราสีขาวทำลายผิวส่วนโคนต้นที่ติดกับดิน และในระยะต่อมาจะเห็นสปอร์คล้ายเมล็ดผักกาดที่โคนต้น การป้องกันใช้สารเคมีชื่อ ไวตาแวกส์ราด หรือ ใช้ปูนขาวประมาณครึ่งกำมือหรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร่า โรยชิดโคนต้น

การป้องกันและกำจัดโรคราโดยใช้สารเคมีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. ขณะที่ยังไม่เกิดโรคควรฉีดยาป้องกันทุกๆ 7 - 10 วัน โดยใช้สารเคมีพื้นๆ เช่น แคปแทน , ไดเทนเอม45 , คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ , คูปราวิท

2. เมื่อเริ่มเกิดอาการโรคระบาดจนเห็นได้แล้วควรใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น เบนเลท โอดี , บาวีซาน , รอฟรัล , ดาโคนิล แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้ง่าย

- การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ แมลงที่สำคัญ  


หนอนเจาะผล ต้องกำจัดตั้งแต่หนอนยังมีขนาดเล็กก่อนที่จะเจาะทำลายเข้าไปในผล โดย สังเกตจากไข่หนอนซึ่งเป็นไข่เดี่ยวๆ รูปร่างกลม สีส้มเหลือง ขนาดประมาณหัวเข้มหมุด โดยตัวแก่ผีเสื้อกลางคืนวางไข่ตามยอดอ่อนหรือกลีบดอก ถ้าพบปริมาณไข่มากจะต้องฉีดยาภายใน 1 - 2 วัน สารเคมีที่ใช้เป็นประเภทถูกตัวตาย เช่น แลนเนท หรือ สารไพรีทรอยด์ และหมั่นเก็บผลที่ถูกหนอนเจาะทำลายออกจากแปลงนำมาเผาไฟ เพราะหนอนที่อยู่ในผลจะออกมาทำลายผลที่อยู่ในช่อเดียวกันต่อไปนี้ ทำให้เสียหายมากขึ้น

- การเก็บเกี่ยวผลสด

เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุประมาณ 55 วัน หลังจากย้ายกล้า โดยเก็บผลที่เริ่มเปลี่ยนสี เพื่อหลีกเลี่ยงผลแตกและผลสุกเกินไป

การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกฤดูต่อไป

สามารถทำได้เมื่อพันธุ์ที่ปลูกไม่ใช่พันธุ์ ลูกผสม การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรเลือกเก็บเมล็ดจากแปลงที่ปลูกในฤดูหนาวเท่านั้น และเลือกเก็บจากต้นที่สมบูรณ์แข้งแรง มีลักษณะผลตามที่ตลาดต้องการ จึงจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์แข้งแรง มีเปอร์เซ็นต์ ความงอกสูง การผลิตเมล็ดพันธุ์สามารถทำได้ง่าย โดยเก็บเกี่ยวผลที่สุกแดงผ่าขวางผล บีบเมล็ดออก หมักทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติก 24 - 36 ชั่วโมง นำไปล้างน้ำหลายๆครั้ง เมล็ดที่ดีจะจมลง เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะลอย ปล่อยให้ไหลออกไป เมื่อเมล็ดสะอาดดีแล้วนำไปผึ่งแดดบนตะแกรง 2 - 3 วัน จนเมล็ดแห้งสนิทจึงบรรจุเมล็ดในถุงพลาสติกหนา หรือ ในกระป๋องที่ปิดสนิท แล้วนำไปเก็บไว้ในที่เย็น ซึ่งโดยวิธีการเช่นนี้สามารถเก็บเมล็ดได้นาน อย่างน้อย 2 - 3 ปี

ประโยชน์ของ การปลูกมะเขือเทศ

# ผลมีรสเปรี้ยวช่วยดับกระหายทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วยช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ ให้รับประทานผลสดลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ
# ผิวหนังที่โดนแดดเผา โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น
# นำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการปวดฟัน
# นำน้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่มรักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง
# ช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตา และช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต และช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ โดยรับประทานมะเขือเทศสุกเป็นประจำ
# คั้นน้ำมะเขือเทศสุกหรือปั่น ดื่มรับประทาน ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกระหายคลายร้อน และช่วยรักษาโรคแผลร้อนใน



การปลุกแตงกวา


             แตงกวาทานผลสด มีลักษณะสำคัญคือ เนื้อบางไส้ใหญ่ มีเปลือกไม่เขียวเข้ม มีทั้งชนิดผลเล็กและผลใหญ่
ชนิดผลเล็ก ส่วนใหญ่เป็นแตงกวาพันธุ์พื้นเมืองที่มีผลเล็ก ยาว 4 - 10 เซนติเมตร เช่นพันธุ์เจ็ดใบ พันธุ์พิจิตร 1 พันธุ์ร้านค้าตราต่าง ๆ เป็นต้น
ชนิดผลใหญ่ ผลมีขนาดยาว ประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร แตงกวาดอง มีลักษณะสำคัญคือ ผลรูปร่างเป็นทรงกระบอก เนื้อหนา มีหนามที่ผลมาก
ฤดูปลูก แตงกวาสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงปลูกที่ดีที่สุดคือ ช่วงปลายฤดูฝน-ต้นฤดูหนา

  
                การเตรียมดิน
 
ปกติแตงกวาสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ชอบคือ ดินร่วนทราย ที่มีความเป็นกรดของดินพอเหมาะ ช่วย pH 5.5-6.8 การเตรียมดินสำหรับแตงกวาจะต้องขุดหรือไถดินให้ลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร ยกเป็นแปลงหรือปลูกเป็นหลุมพื้นราบ ถ้าจะยกแปลงควรให้สันร่องกว้างอย่างน้อย 1 เมตร มีร่องระบายน้ำกว้างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร การเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย 2 ตัน/ไร่ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับสภาพทางกายภาพของดิน
การใช้ปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ย 15-15-15 รองพื้นอัตรา 30-50 กิโลกรัม/ ไร่ แต่ถ้าเป็นดินทรายจัด อาจใช้สูตร 13-13-21 รองพื้นแทน จะให้ผลดีกว่า
การเพาะกล้า การปลูกแตงกวา ปกตินิยมหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง แต่ถ้าปลูกแตงกวาลูกผสมชั่วที่หนึ่ง ซึ่งเมล็ดมีราคาแพง นิยมที่จะเพาะกล้าลงถุง แล้วจึงย้ายลงปลูกเมื่อแตงกวาแตกใบจริง 2-3 ใบ (ประมาณ 10-15 วันหลังเพาะ) การเพาะลงถุงนิยมนำเมล็ดแตงกวามาแช่น้ำยากันรา เช่น ไดโฟลาแทน, ไดเทนเอ็ม 45 ราวครึ่งชั่วโมง แล้วนำไปแช่น้ำ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปห่อผ้าขาวบางใส่ถุงพลาสติก ปิดปากแล้วไปบ่มไว้ในที่มีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น เช่น ใช้หลอดไฟ 60 วัตต์ วางห่างถุง 5 นิ้ว นาน 24 ชั่วโมง จึงนำไปเพาะลงถุง ขนาด 4x6 นิ้ว
 
การปลูก

การปลูกโดยหยอดเมล็ดลงหลุมโดยตรง ปกติจะหยอดหลุมละ 4-5 เมล็ด หลังจากมีใบจริงถึงถอนแยกเหลือ 1-2 ต้น/ หลุม ระยะปลูกโดยทั่วไประหว่างต้นจะห่างประมาณ 50-100 เซนติเมตร ระหว่างแถว 150 เซนติเมตร ถ้าไม่ใช้ค้าง ถ้าปลูกแบบมีไม้ค้างจะปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย

ในช่วงเตรียมดินจะใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี หลังปลูกเมื่อต้นอายุ 7-10 วัน ควรจะใส่ปุ๋ยเร่ง เช่น ยูเรีย, แอมโมเนียมไนเตรด อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ ไร่ โรยรอบโคนแล้วรดน้ำให้ทั่วให้ปุ๋ยละลายหมด เมื่อต้นอายุ 20-25 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ ไร่ อีกครั้งหนึ่ง
 
การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอบ่อย ๆ ปกติควรรดน้ำวันละครั้ง การให้น้ำอาจให้น้ำแบบร่อง รดด้วยสายยางใส่ฝักบัว แต่ไม่ควรใช้สปริงเกอร์ เพราะจำทำให้เกิดโรคทางใบมาก การรดน้ำหลังใส่ปุ๋ยทุกครั้งต้องมากพอที่จะละลายปุ๋ยของดิน
การทำค้าง ปกติการปลูกแตงกวาไม่นิยมทำค้าง แต่ถ้าปลูกแตงกวาดองหรือแตงกวาทานผลสดชนิดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน มีความจำเป็นที่จะต้องทำค้าง เพื่อลดความสูญเสียของผลเนื่องจากโรคเน่า การทำค้างอาจใช้ปลายไม้รวกหรืออาจดัดแปลงวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ต้นอ้อ ต้นพง ต้นแขม ทำค้างรูปสามเหลี่ยม โดยใช้เชือกขึงตามแนวนอนทุก ๆ ระยะ 20-30 เซนติเมตร
 
การเก็บเกี่ยว
 
อายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลได้ครั้งแรก จะอยู่ระหว่าง 30-35 วัน อายุผลหลังจากตอบแทนแตงกวาบริโภคผลสดจะอยู่ในช่วง 6-7 วัน ในขณะที่แตงกวาดอง (ผลเล็ก) จะใช้เวลา 3-4 วัน การเก็บบริโภคผลสดควรเก็บเมื่อผลยังมีผิวขรุขระมองเห็นตุ่มหนามชัดเจน ผลยังเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เมล็ดในผลยังอ่อนนิ่ม ผลกรอบ เนื้อแน่น ผลขนาดยาว 7-10 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นแตงกวาผลใหญ่จากต่างประเทศ จะมีขนาดยาว 20-25 เซนติเมตร การเก็บควรทยอยเก็บวันเว้นวัน หรือเก็บทุกวัน การเก็บทุกวันจะได้รายได้ดีกว่าเก็บวันเว้นวัน แตงกวาที่เก็บหลงอยู่ควรเก็บออกให้หมดเมื่อเก็บครั้งต่อไป ถ้าทิ้งไว้จะทำให้ผลผลิตลดลง การเก็บเกี่ยวปกติจะเก็บได้ประมาณ 1 เดือน
การบรรจุ, ขนส่ง หลังจากเก็บ เกษตรกรนิยมบรรจุแตงกวาลงเข่งกรุด้วยใบตอง หรือบรรจุลงถุงพลาสติก ขนาด 10 กิโลกรัม แล้วขนส่งโดยรถปิคอัพ การขนส่งควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่าให้ถูกอากาศร้อนจัดแตงกวาจะเปลี่ยนสีผิวได้ง่ายโดยเฉพาะแตงกวาหนามดำ แต่ถ้าเป็นแตงกวาหนามขาวจะเปลี่ยนสียาก คือเก็บได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ ในขณะที่แตงหนามดำเก็บได้ 1-2 วัน เท่านั้น
แหล่งผลิต แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไป แต่แหล่งผลิตใหญ่ในภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง พิจิตร นครสวรรค์ น่าน ภาคอีสานจะมีปลูกมากที่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภาคตะวันออก ปลูกมากในจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี และชลบุรี
 
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ควรพ่นยาป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เต่าแตง แมลงวันทอง โดยใช้ยาพวกคาร์บาวิล (เซฟวิน) และยาพวกคาร์โบซัลแฟน (ฟอสซ์) พ่นสัปดาห์ละครั้งสลับกัน แต่ถ้ามีเพลี้ยไฟระบาดควรพ่น ฟอสซ์ทุก ๆ 5-7 วัน
ควรพ่นยาพวกแมนโคเซป (ไดเทนเอ็ม 45) หรืแคบตาโพล (ไดโฟลาแทน) เพื่อป้องกันโรคทางใบ สัปดาห์ละครั้งโดยอาจพ่นร่วมกับการพ่นยาฆ่าแมลง
การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง วิธีป้องกันที่ดีคือ คลุกเมล็ดแตงกวาก่อนปลูกด้วยสารพวกเมตาแลกซิล (เอพรอน 35 SD.) โดยใช้เมล็ด 1 กิโลกรัมต่อยา 7 กรัม ซึ่งจะป้องกันโรคในระยะเดือนแรกได้ดี หลังจากนั้นควรพ่นยาป้องกัน เช่น แมนโคเซป (ไดเทนเอ็ม 45) หรือ แคบตาโฟล (ไดโพลาแทน) ทุก ๆ 7 วัน
 

การปลุกมันสำปะหลัง




      มันสำปะหลัง (Cassava : Manihot esculenta) พืชอาหารของไหมป่าอีรี่ กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นจากพืชอาหารสัตว์ กลายมาเป็นพืชพลังงานที่สำคัญในการผลิต “เอทานอล” เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เรียกว่า “แก็สโซฮอล์” เพื่อลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ จากการนำเข้าน้ำมันซึ่งนับวันจะมีราคาแพงมากยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติในหลักการของโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืช เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิต และจำหน่ายเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน บริษัท ผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง 1โรงงาน ที่มีกำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน ทำงาน 330 วันต่อปี ใช้หัวมันสำปะหลัง 750 – 800 ตันต่อวัน หรือประมาณ 250,000 ตัน ต่อปี ต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 100,000 ไร่ ทราบว่ากำลังมีการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อยอีก 18 โรงงานถ้าเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังอีก 50 % หรือ 9 โรงงาน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 900,000 ไร่ รวมเป็น 1 ล้านไร่ ในขณะที่ประเทศมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6.9 ล้านไร่ ในปี 2547 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการส่งออก ดังนั้นถ้าเราต้องการปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล และอาหารสัตว์ดังกล่าว จะต้องใช้พื้นที่ ประมาณ 8 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานและภาคตะวันออก สำหรับจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวมทั้งสิ้น 336,798 ไร่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีใบมันสำปะหลังเป็นผลพลอยได้เพื่อใช้เลี้ยงไหมป่าจำนวนมหาศาล จากการศึกษาพบว่าถ้าเราเก็บใบมันสำปะหลังน้อยกว่า 30 % ของใบทั้งหมดที่อยู่บนต้นจะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต หัวมันสำปะหลัง การเลี้ยงไหมป่า 20,000 ตัว (1 กล่อง) จะใช้ใบมันสำปะหลัง 600 – 700 กิโลกรัม (เก็บจากแปลงมันสำปะหลัง 2 ไร่) สามารถเลี้ยงได้ 3 ครั้ง ต่อปี ดังนั้นถ้าเราเลี้ยงไหมป่าอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือ 2 ล้านไร่ จะเลี้ยงไหมป่าได้ถึง 1 ล้านกล่องต่อครั้ง หรือ 3 ล้านกล่องต่อปี ได้ผลผลิตรังไหมป่าประมาณ 105,000 ตัน สาวเป็นเส้นใยได้ประมาณ 7,500 ตัน มูลค่า 7,500 ล้านบาท ในจังหวัดมหาสารคาม ถ้ามีการเลี้ยงไหมอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดจะได้ผลิตเส้นไหมป่า ประมาณ 884 ตัน มีมูลค่าถึง 884 ล้านบาท
ในอนาคตจึงคิดว่า การเลี้ยงไหมป่าอีรี่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เป็นอาชีพหลัก เพราะการปลูกมันสำปะหลังเกษตรกรจะมีเวลาว่างมากพอระหว่างรอผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงไหมป่า เมื่อมีความหวังในการสร้างเงินจากเรื่องนี้ ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คงนิ่งดูดายไม่ได้ ที่จะใช้โอกาสนี้มาพัฒนาการเลี้ยงไหมป่าให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในชุมชนต่างๆ ที่อยู่ท่ามกลางไร่มันสำปะหลัง อันกว้างใหญ่ของจังหวัดมหาสารคาม ร่วมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวอีสานอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง