วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

การเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า



การเพาะเห็ดนางฟ้า ก้อนวัสดุที่ใช้เพาะเห็ด ควรจะประกอบด้วย
(1.) ดีเกลือ 5 ขีด (2.) ปูนขาว 10 กิโลกรัม (3.) รำอ่อน 10 กิโลกรัม

(4.) ขี้เลื้อยไม้ยางพารา 10 กระสอบ (5.) แป้งข้าวจ้าว 2 กิโลกรัม 


สำหรับวิธีการเตรียมวัสดุเพาะ ให้นำวัสดุทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มาผสมกัน เติมน้ำประมาณ 1 ถัง นำ มาคลุกเคล้ากัน แล้วนำไปอัดใส่ในถุงพลาสติกให้มีน้ำหนักถุงละ 1 กิโลกรัม ส่วนที่ปากถุงจะใช้จุกพลาสติกปิดเพื่อให้เห็ดสามารถออกดอกได้สะดวก

จากนั้น นำวัสดุที่เตรียมแล้ว ไปเข้าห้องเตาอบไอน้ำทิ้งไว้ประมาณ 6 ชั่วโมง จึงน้ำออกมากจากเตาอบ แล้วมาเขี่ยเชื้อเห็ดใส่ลงในถุง จากนั้นตั้งผึ่งลมไว้ในที่โล่งโปร่งประมาณ 1 เดือน สังเกตดูจะเห็นเชื้อเห็ดเจริญเติบโตกระจายเต็มถุง แล้วจึงนำไปไว้ในโรงเรือนเพาะเห็ด

โรง เรือนเพาะเห็ดต้องเป็นโรงเรือนปิดทึบ และมีความชุ่มชื้น สำหรับวิธีการในการทำให้โรงเรือนมีความชุ่มชื้น ทำได้โดยการใช้น้ำรดวันละ 3 ครั้ง คือ เช้า กลางวัน และเย็น หลังจากนั้นไม่นาน เห็ดก็จะออกดอกและสามารถจะเก็บผลผลิตได้ทุกวันติดต่อกัน


ประโยชน์ของ การปลูกเห็ดนางฟ้า

มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย
และก็ยังมีสรรพคุณทางยา ที่ชาวจีนจัดว่า เป็นยาเย็น
ที่มีสรรพคุณช่วยลดไข้ เพิ่มพลังชีวิต แก้ร้อนใน
ช่วยให้หายหงุดหงิด บำรุงเซลล์ประสาท
สามารถรักษาอาการอัลไซเมอร์ และที่สำคัญยังสามารถ
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย


การเพาะปลูกเห็ดนางฟ้า

การปลูกมะเขือเทศ





มะเขือเทศสามารถเจริญเติบโตทางด้านลำต้น ใบ และออกดอกได้ดีตลอดทั้งปี แต่การติดผลของมะเขือเทศต้องการสภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิกลางวันที่เหมาะสมอยู่ที่ระหว่าง 25 - 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนประมาณ 16 - 20 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิกลางคืนสูงกว่า 22 องศาเซลเซียส จะทำให้มะเขือเทศไม่ติดผลหรือติดผลได้น้อยมาก ฝนและความชื้นสูงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โรคทางใบและทางรากระบาดรุนแรง ดังนั้นฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดจึงอยู่ในช่วงฤดูหนาว โดยมีช่วงหยอดเมล็ดเพาะกล้าอยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนอกจากสภาพอากาศจะเหมาะสมต่อการติดผล ทำให้ได้ผลผลิตสูงแล้วยังมีศัตรูพืชรบกวนน้อย ต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าการปลูกในฤดูอื่นด้วย

การปลูกทำได้ 2 วิธี

1. เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ยคอก หรือ ปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1 - 2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30 - 40 กรัม หยอดลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม. ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าว หรือ หญ้าแห้งบางๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุมแปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยซ้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย โรคที่สำคัญในแปลงกล้า คือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกัน ความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17 - 22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ ต้นกล้าจะแข้งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมาก หลังจากย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมักจะใช้กล้าอายุประมาณ 21 - 25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3 - 4 ใบ

2. หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่าย แต่จะเสียเวลาและแรงงาน ในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80 - 100 กรัม ต่อไร่ สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 เมตร ระยะระหว่างต้น 25 - 50 ซม. ปลูก 1 ต้น ต่อ หลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ผลผลิตต่อ พื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่นๆ

การปฏิบัติดูแลรักษา
- การคลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นของดินและเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อฝนตก หรือให้น้ำ นอกจากนี้ยังช่วยลดเปอร์เซ็นต์ผลเน่าและการระบาดของโรคทางใบ ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20 - 40 % แต่ฟางมักจะมีเชื้อราสเคอโรเตี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคเหี่ยวต้นแห้งตายไป การคลุมฟางจึงควรคลุมให้ห่างโคนต้น เพื่อไม่ให้โคนต้นมีความชื้นสูงเกินไป

- การกำจัดวัชพืช ใช้สารเคมีชื่อ เมตริบูซิน หรือชื่อการค้าว่า เซงคอร์ อัตรา 80 - 120 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) หรือ 115 - 170 กรัม สารเซงคอร์ 70 % ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ ฉีดหลังจากย้ายกล้า ขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ จะสามารถควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้างบางชนิดได้ แต่ถ้ามีการพรวนดิน พูนโคนหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 และ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช

- การใส่ปุ๋ย
1. ปุ๋ยรองพื้น ใช้ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 30 กก./ไร่ รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2,000 กก./ไร่ และโบแรกซ์ 4 กก./ไร่

2. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 7 - 10 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 46 - 0 - 0 หรือ 21 - 0 - 0 อัตรา 10 หรือ 20 กก./ไร่ ถ้าเปลี่ยนแปลงปลูกที่เคยปลูกผักกินใบ เช่น ผักชี มาก่อนควรใช้ปุ๋ย 13 - 13 - 21 แทน

3. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 21 - 25 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 15 - 15 - 15 อัตรา 30 กก./ไร่

4. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 40 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ย 13 - 13 - 21 อัตรา 30 กก./ไร่

5. ปุ๋ยแต่งหน้าที่อายุ 60 วัน หลังจากย้ายปลูก ใช้ปุ๋ยชนิดและอัตราเดียวกับครั้งที่ 4 แต่ถ้าสภาพต้นมะเขือเทศค่อนข้างโทรมมีผลน้อยก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยครั้งที่ 5

ในสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม เช่น ร้อนเกินไปหรือมีฝนตกบ่อย ทำให้ต้นมะเขือเทศไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือมีอาการเฝือใบ อาจช่วยได้โดยการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรต่างๆ ตามระยะการเจริญเติบโต เช่น ในระยะยังไม่ออกดอกอาจใช้ปุ๋ยใบสูตรเสมอ เช่น 25 - 25 - 25 ส่วนในระยะออกดอกแล้วควรใช้ปุ๋ยใบที่มีฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียมสูง เช่น 10 - 23 - 20 หรือ 10 - 30 - 20 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยใบที่มีธาตุอาหารรอง หลายชนิดอยู่ด้วย เช่น แมงกานีส เหล็ก สังกะสี โบรอน จะช่วยให้ต้นมะเขือเทศสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

- การให้น้ำ ระยะที่มะเขือเทศต้องการน้ำมากคือ ช่วงแรกของการเติบโตและช่วงที่ผลกำลังขยายขนาด (ประมาณ 35 - 50 วัน หลังจากย้ายกล้า) สำหรับช่วงที่กำลังติดผล (20 -35 วัน) ไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่ต้องการการพรวนดิน เพื่อให้รากเจริญเติบโตลงไปได้ลึก และรากกระจายทางด้านข้างได้สะดวก

- การปักค้าง มีความจำเป็นมากเมื่อปลูกมะเขือเทศในฤดูฝน หรือ ปลูกด้วยพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตแบบเลื้อย การปักค้างแบบค้างเดี๋ยวหรือแบบกระโจม จะช่วยให้ผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้นกว่าการไม่ปักค้าง 20 % และทำให้การฉีดยาป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติงานอื่นๆ ในแปลงสะดวกขึ้น นอกจากปักค้างแล้วต้องหมั่นผูกต้นมะเขือเทศติดกับค้างด้วย มิฉะนั้นแขนงที่เกิดใหม่จะเจริญเติบโตทอดไปกับดินทำให้ผลเน่าเสียหายได้

- การป้องกันกำจัดโรคที่สำคัญ โรคที่สำคัญ ได้แก่

1. โรคใบไหม้ เนื่องจากเชื้อ Alternaria และ Cercospora ระบาดเร็วมากเมื่ออุณหภูมิและความชื้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน การเด็ดใบด้านล่างที่เป็นโรคทิ้งจะช่วยให้การระบาดของโรคช้าลง

2. โรคใบหงิกจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกฤดูโดยมีแมลงหวี่ขาว และ เพลี้ยอ่อนเป็นพาหนะนำเชื้อ

3. โรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย มะเขือเทศเหี่ยวตายอย่างรวดเร็วขณะที่ลำต้นใบ ยังเขียวอยู่ไม่มียาป้องกันต้องใช้พันธุ์ต้านทานเท่านั้น ถ้าพบต้นเป็นโรคควรถอนทิ้งเผาไฟทันที

4. โรคเหี่ยวจากเชื้อสเคอโรเตี่ยม เกิดมากเมื่อดินมีความชื้นสูง จะพบราสีขาวทำลายผิวส่วนโคนต้นที่ติดกับดิน และในระยะต่อมาจะเห็นสปอร์คล้ายเมล็ดผักกาดที่โคนต้น การป้องกันใช้สารเคมีชื่อ ไวตาแวกส์ราด หรือ ใช้ปูนขาวประมาณครึ่งกำมือหรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร่า โรยชิดโคนต้น

การป้องกันและกำจัดโรคราโดยใช้สารเคมีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. ขณะที่ยังไม่เกิดโรคควรฉีดยาป้องกันทุกๆ 7 - 10 วัน โดยใช้สารเคมีพื้นๆ เช่น แคปแทน , ไดเทนเอม45 , คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ , คูปราวิท

2. เมื่อเริ่มเกิดอาการโรคระบาดจนเห็นได้แล้วควรใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น เบนเลท โอดี , บาวีซาน , รอฟรัล , ดาโคนิล แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้ง่าย

- การป้องกันกำจัดแมลงที่สำคัญ แมลงที่สำคัญ  


หนอนเจาะผล ต้องกำจัดตั้งแต่หนอนยังมีขนาดเล็กก่อนที่จะเจาะทำลายเข้าไปในผล โดย สังเกตจากไข่หนอนซึ่งเป็นไข่เดี่ยวๆ รูปร่างกลม สีส้มเหลือง ขนาดประมาณหัวเข้มหมุด โดยตัวแก่ผีเสื้อกลางคืนวางไข่ตามยอดอ่อนหรือกลีบดอก ถ้าพบปริมาณไข่มากจะต้องฉีดยาภายใน 1 - 2 วัน สารเคมีที่ใช้เป็นประเภทถูกตัวตาย เช่น แลนเนท หรือ สารไพรีทรอยด์ และหมั่นเก็บผลที่ถูกหนอนเจาะทำลายออกจากแปลงนำมาเผาไฟ เพราะหนอนที่อยู่ในผลจะออกมาทำลายผลที่อยู่ในช่อเดียวกันต่อไปนี้ ทำให้เสียหายมากขึ้น

- การเก็บเกี่ยวผลสด

เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุประมาณ 55 วัน หลังจากย้ายกล้า โดยเก็บผลที่เริ่มเปลี่ยนสี เพื่อหลีกเลี่ยงผลแตกและผลสุกเกินไป

การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกฤดูต่อไป

สามารถทำได้เมื่อพันธุ์ที่ปลูกไม่ใช่พันธุ์ ลูกผสม การเก็บเมล็ดพันธุ์ควรเลือกเก็บเมล็ดจากแปลงที่ปลูกในฤดูหนาวเท่านั้น และเลือกเก็บจากต้นที่สมบูรณ์แข้งแรง มีลักษณะผลตามที่ตลาดต้องการ จึงจะได้เมล็ดที่สมบูรณ์แข้งแรง มีเปอร์เซ็นต์ ความงอกสูง การผลิตเมล็ดพันธุ์สามารถทำได้ง่าย โดยเก็บเกี่ยวผลที่สุกแดงผ่าขวางผล บีบเมล็ดออก หมักทิ้งไว้ในภาชนะพลาสติก 24 - 36 ชั่วโมง นำไปล้างน้ำหลายๆครั้ง เมล็ดที่ดีจะจมลง เมล็ดที่ไม่สมบูรณ์จะลอย ปล่อยให้ไหลออกไป เมื่อเมล็ดสะอาดดีแล้วนำไปผึ่งแดดบนตะแกรง 2 - 3 วัน จนเมล็ดแห้งสนิทจึงบรรจุเมล็ดในถุงพลาสติกหนา หรือ ในกระป๋องที่ปิดสนิท แล้วนำไปเก็บไว้ในที่เย็น ซึ่งโดยวิธีการเช่นนี้สามารถเก็บเมล็ดได้นาน อย่างน้อย 2 - 3 ปี

ประโยชน์ของ การปลูกมะเขือเทศ

# ผลมีรสเปรี้ยวช่วยดับกระหายทำให้เจริญอาหาร บำรุงและกระตุ้นกระเพาะอาหาร ลำไส้ ไต ให้ทำงานได้ดีด้วยช่วยขับพิษและสิ่งคั่งค้างในร่างกายเป็นยาระบายอ่อน ๆ และเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับคนเป็นโรคนิ่ว วัณโรค ไทฟอยด์ หูอักเสบ และเหยื่อตาอักเสบ ให้รับประทานผลสดลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ และมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำ
# ผิวหนังที่โดนแดดเผา โดยใช้ใบตำให้ละเอียดทาบริเวณที่เป็น
# นำราก ลำต้น และใบแก่ต้มกับน้ำรับประทานแก้อาการปวดฟัน
# นำน้ำมะเขือเทศพอกหน้า หรืออาจจะมะเขือเทศสุกฝานบาง ๆ แปะบนใบหน้า จะช่วยให้ผิวหน้าอ่อนนุ่มรักษาสิว สมานผิวหน้าให้เต่งตึง
# ช่วยลดการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด รักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ช่วยบำรุงสายตา และช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต และช่วยบรรเทาอาการป่วยของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคตับอักเสบ โดยรับประทานมะเขือเทศสุกเป็นประจำ
# คั้นน้ำมะเขือเทศสุกหรือปั่น ดื่มรับประทาน ลดอาการท้องอืดเฟ้อ และอาหารไม่ย่อย ช่วยดับกระหายคลายร้อน และช่วยรักษาโรคแผลร้อนใน



การปลุกแตงกวา


             แตงกวาทานผลสด มีลักษณะสำคัญคือ เนื้อบางไส้ใหญ่ มีเปลือกไม่เขียวเข้ม มีทั้งชนิดผลเล็กและผลใหญ่
ชนิดผลเล็ก ส่วนใหญ่เป็นแตงกวาพันธุ์พื้นเมืองที่มีผลเล็ก ยาว 4 - 10 เซนติเมตร เช่นพันธุ์เจ็ดใบ พันธุ์พิจิตร 1 พันธุ์ร้านค้าตราต่าง ๆ เป็นต้น
ชนิดผลใหญ่ ผลมีขนาดยาว ประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร แตงกวาดอง มีลักษณะสำคัญคือ ผลรูปร่างเป็นทรงกระบอก เนื้อหนา มีหนามที่ผลมาก
ฤดูปลูก แตงกวาสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ช่วงปลูกที่ดีที่สุดคือ ช่วงปลายฤดูฝน-ต้นฤดูหนา

  
                การเตรียมดิน
 
ปกติแตงกวาสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ชอบคือ ดินร่วนทราย ที่มีความเป็นกรดของดินพอเหมาะ ช่วย pH 5.5-6.8 การเตรียมดินสำหรับแตงกวาจะต้องขุดหรือไถดินให้ลึกอย่างน้อย 20 เซนติเมตร ยกเป็นแปลงหรือปลูกเป็นหลุมพื้นราบ ถ้าจะยกแปลงควรให้สันร่องกว้างอย่างน้อย 1 เมตร มีร่องระบายน้ำกว้างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร การเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย 2 ตัน/ไร่ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์และปรับสภาพทางกายภาพของดิน
การใช้ปุ๋ยเคมี ควรใช้ปุ๋ย 15-15-15 รองพื้นอัตรา 30-50 กิโลกรัม/ ไร่ แต่ถ้าเป็นดินทรายจัด อาจใช้สูตร 13-13-21 รองพื้นแทน จะให้ผลดีกว่า
การเพาะกล้า การปลูกแตงกวา ปกตินิยมหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกโดยตรง แต่ถ้าปลูกแตงกวาลูกผสมชั่วที่หนึ่ง ซึ่งเมล็ดมีราคาแพง นิยมที่จะเพาะกล้าลงถุง แล้วจึงย้ายลงปลูกเมื่อแตงกวาแตกใบจริง 2-3 ใบ (ประมาณ 10-15 วันหลังเพาะ) การเพาะลงถุงนิยมนำเมล็ดแตงกวามาแช่น้ำยากันรา เช่น ไดโฟลาแทน, ไดเทนเอ็ม 45 ราวครึ่งชั่วโมง แล้วนำไปแช่น้ำ 2-3 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปห่อผ้าขาวบางใส่ถุงพลาสติก ปิดปากแล้วไปบ่มไว้ในที่มีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น เช่น ใช้หลอดไฟ 60 วัตต์ วางห่างถุง 5 นิ้ว นาน 24 ชั่วโมง จึงนำไปเพาะลงถุง ขนาด 4x6 นิ้ว
 
การปลูก

การปลูกโดยหยอดเมล็ดลงหลุมโดยตรง ปกติจะหยอดหลุมละ 4-5 เมล็ด หลังจากมีใบจริงถึงถอนแยกเหลือ 1-2 ต้น/ หลุม ระยะปลูกโดยทั่วไประหว่างต้นจะห่างประมาณ 50-100 เซนติเมตร ระหว่างแถว 150 เซนติเมตร ถ้าไม่ใช้ค้าง ถ้าปลูกแบบมีไม้ค้างจะปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย

ในช่วงเตรียมดินจะใส่ปุ๋ยรองพื้นด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี หลังปลูกเมื่อต้นอายุ 7-10 วัน ควรจะใส่ปุ๋ยเร่ง เช่น ยูเรีย, แอมโมเนียมไนเตรด อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ ไร่ โรยรอบโคนแล้วรดน้ำให้ทั่วให้ปุ๋ยละลายหมด เมื่อต้นอายุ 20-25 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ ไร่ อีกครั้งหนึ่ง
 
การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอบ่อย ๆ ปกติควรรดน้ำวันละครั้ง การให้น้ำอาจให้น้ำแบบร่อง รดด้วยสายยางใส่ฝักบัว แต่ไม่ควรใช้สปริงเกอร์ เพราะจำทำให้เกิดโรคทางใบมาก การรดน้ำหลังใส่ปุ๋ยทุกครั้งต้องมากพอที่จะละลายปุ๋ยของดิน
การทำค้าง ปกติการปลูกแตงกวาไม่นิยมทำค้าง แต่ถ้าปลูกแตงกวาดองหรือแตงกวาทานผลสดชนิดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน มีความจำเป็นที่จะต้องทำค้าง เพื่อลดความสูญเสียของผลเนื่องจากโรคเน่า การทำค้างอาจใช้ปลายไม้รวกหรืออาจดัดแปลงวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ต้นอ้อ ต้นพง ต้นแขม ทำค้างรูปสามเหลี่ยม โดยใช้เชือกขึงตามแนวนอนทุก ๆ ระยะ 20-30 เซนติเมตร
 
การเก็บเกี่ยว
 
อายุตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลได้ครั้งแรก จะอยู่ระหว่าง 30-35 วัน อายุผลหลังจากตอบแทนแตงกวาบริโภคผลสดจะอยู่ในช่วง 6-7 วัน ในขณะที่แตงกวาดอง (ผลเล็ก) จะใช้เวลา 3-4 วัน การเก็บบริโภคผลสดควรเก็บเมื่อผลยังมีผิวขรุขระมองเห็นตุ่มหนามชัดเจน ผลยังเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เมล็ดในผลยังอ่อนนิ่ม ผลกรอบ เนื้อแน่น ผลขนาดยาว 7-10 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นแตงกวาผลใหญ่จากต่างประเทศ จะมีขนาดยาว 20-25 เซนติเมตร การเก็บควรทยอยเก็บวันเว้นวัน หรือเก็บทุกวัน การเก็บทุกวันจะได้รายได้ดีกว่าเก็บวันเว้นวัน แตงกวาที่เก็บหลงอยู่ควรเก็บออกให้หมดเมื่อเก็บครั้งต่อไป ถ้าทิ้งไว้จะทำให้ผลผลิตลดลง การเก็บเกี่ยวปกติจะเก็บได้ประมาณ 1 เดือน
การบรรจุ, ขนส่ง หลังจากเก็บ เกษตรกรนิยมบรรจุแตงกวาลงเข่งกรุด้วยใบตอง หรือบรรจุลงถุงพลาสติก ขนาด 10 กิโลกรัม แล้วขนส่งโดยรถปิคอัพ การขนส่งควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่าให้ถูกอากาศร้อนจัดแตงกวาจะเปลี่ยนสีผิวได้ง่ายโดยเฉพาะแตงกวาหนามดำ แต่ถ้าเป็นแตงกวาหนามขาวจะเปลี่ยนสียาก คือเก็บได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ ในขณะที่แตงหนามดำเก็บได้ 1-2 วัน เท่านั้น
แหล่งผลิต แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกอยู่ทั่วไป แต่แหล่งผลิตใหญ่ในภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง พิจิตร นครสวรรค์ น่าน ภาคอีสานจะมีปลูกมากที่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ขอนแก่น ภาคตะวันออก ปลูกมากในจังหวัด ระยอง ปราจีนบุรี และชลบุรี
 
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ควรพ่นยาป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เต่าแตง แมลงวันทอง โดยใช้ยาพวกคาร์บาวิล (เซฟวิน) และยาพวกคาร์โบซัลแฟน (ฟอสซ์) พ่นสัปดาห์ละครั้งสลับกัน แต่ถ้ามีเพลี้ยไฟระบาดควรพ่น ฟอสซ์ทุก ๆ 5-7 วัน
ควรพ่นยาพวกแมนโคเซป (ไดเทนเอ็ม 45) หรืแคบตาโพล (ไดโฟลาแทน) เพื่อป้องกันโรคทางใบ สัปดาห์ละครั้งโดยอาจพ่นร่วมกับการพ่นยาฆ่าแมลง
การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้าง วิธีป้องกันที่ดีคือ คลุกเมล็ดแตงกวาก่อนปลูกด้วยสารพวกเมตาแลกซิล (เอพรอน 35 SD.) โดยใช้เมล็ด 1 กิโลกรัมต่อยา 7 กรัม ซึ่งจะป้องกันโรคในระยะเดือนแรกได้ดี หลังจากนั้นควรพ่นยาป้องกัน เช่น แมนโคเซป (ไดเทนเอ็ม 45) หรือ แคบตาโฟล (ไดโพลาแทน) ทุก ๆ 7 วัน
 

การปลุกมันสำปะหลัง




      มันสำปะหลัง (Cassava : Manihot esculenta) พืชอาหารของไหมป่าอีรี่ กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นจากพืชอาหารสัตว์ กลายมาเป็นพืชพลังงานที่สำคัญในการผลิต “เอทานอล” เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เรียกว่า “แก็สโซฮอล์” เพื่อลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ จากการนำเข้าน้ำมันซึ่งนับวันจะมีราคาแพงมากยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติในหลักการของโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืช เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิต และจำหน่ายเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน บริษัท ผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง 1โรงงาน ที่มีกำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน ทำงาน 330 วันต่อปี ใช้หัวมันสำปะหลัง 750 – 800 ตันต่อวัน หรือประมาณ 250,000 ตัน ต่อปี ต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 100,000 ไร่ ทราบว่ากำลังมีการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อยอีก 18 โรงงานถ้าเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังอีก 50 % หรือ 9 โรงงาน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 900,000 ไร่ รวมเป็น 1 ล้านไร่ ในขณะที่ประเทศมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6.9 ล้านไร่ ในปี 2547 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการส่งออก ดังนั้นถ้าเราต้องการปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล และอาหารสัตว์ดังกล่าว จะต้องใช้พื้นที่ ประมาณ 8 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานและภาคตะวันออก สำหรับจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวมทั้งสิ้น 336,798 ไร่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีใบมันสำปะหลังเป็นผลพลอยได้เพื่อใช้เลี้ยงไหมป่าจำนวนมหาศาล จากการศึกษาพบว่าถ้าเราเก็บใบมันสำปะหลังน้อยกว่า 30 % ของใบทั้งหมดที่อยู่บนต้นจะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต หัวมันสำปะหลัง การเลี้ยงไหมป่า 20,000 ตัว (1 กล่อง) จะใช้ใบมันสำปะหลัง 600 – 700 กิโลกรัม (เก็บจากแปลงมันสำปะหลัง 2 ไร่) สามารถเลี้ยงได้ 3 ครั้ง ต่อปี ดังนั้นถ้าเราเลี้ยงไหมป่าอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือ 2 ล้านไร่ จะเลี้ยงไหมป่าได้ถึง 1 ล้านกล่องต่อครั้ง หรือ 3 ล้านกล่องต่อปี ได้ผลผลิตรังไหมป่าประมาณ 105,000 ตัน สาวเป็นเส้นใยได้ประมาณ 7,500 ตัน มูลค่า 7,500 ล้านบาท ในจังหวัดมหาสารคาม ถ้ามีการเลี้ยงไหมอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดจะได้ผลิตเส้นไหมป่า ประมาณ 884 ตัน มีมูลค่าถึง 884 ล้านบาท
ในอนาคตจึงคิดว่า การเลี้ยงไหมป่าอีรี่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เป็นอาชีพหลัก เพราะการปลูกมันสำปะหลังเกษตรกรจะมีเวลาว่างมากพอระหว่างรอผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงไหมป่า เมื่อมีความหวังในการสร้างเงินจากเรื่องนี้ ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คงนิ่งดูดายไม่ได้ ที่จะใช้โอกาสนี้มาพัฒนาการเลี้ยงไหมป่าให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในชุมชนต่างๆ ที่อยู่ท่ามกลางไร่มันสำปะหลัง อันกว้างใหญ่ของจังหวัดมหาสารคาม ร่วมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวอีสานอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง