วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผักหวานป่า


ข้อ 10 เคล็ดลับการดูแล

  -การให้ปุ๋ยให้ปุ๋ยคอกเท่านั้น และที่มันชอบคือมูลโคที่เก็บสักครึ่งปี ผ่านการย่อยสลาย ให้ช่วงต้นฝนโรยรอบๆทรงพุ่ม ต้นละ 5 - 10 กก แล้วแต่ขนาดต้น มูลสัตว์อื่นต้องหมักอย่างน้อย 1 ปี ขึ้นไป ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ไม่ควรให้เป็นดีที่สุด

   -ผักหวานชอบดินร่วน ดินลูกรัง หรือดินที่มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบดินเหนียวดินที่ระบายน้ำไม่ดี ไม่ชอบที่แฉะ เราจะพบผักหวานในป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ ป่าที่มีการทิ้งใบในหน้าแล้ง หรือ พบมากตามภูเขาแถว จ.ลำปาง ลำพูน ตาก กาญจนบุรี ที่มีหน้าแล้งชัดเจน เราจะพบว่าไฟไหม้ป่าจากล่าสัตว์และการเก็บของป่า ที่สำคัญก็คือ ผักหวาน เมื่อมีผักหวานคนเก็บของป่าจะใช้ไฟเผาเอาไข่มดแดงไฟก็จะไหม้ป่า และการเผาป่าของคนเก็บของป่าเพื่อจะให้ เห็ดถอบ หรือ เห็ดเผาะ มันเป็นเห็ดดิน พอเผาเสร็จ เมื่อฝนตกมันจะเกิดดีขึ้น คนเก็บของป่าเล่าให้ฟัง ตอนแรกไปทำงานทางเหนือสงสัยว่าไฟทำไมไหม้ป่าบ่อยพอไปถามคนเก็บของป่าเลยรู้ครับ การปลูกผักหวานช่วยลดโลกร้อน ตามกระแสรักโลกครับ

   -การบังคับผักหวานแทงช่อ ง่ายๆ คือ การรูดใบผักหวานจากกิ่งให้หมด จากนั้นรดน้ำวันเว้นวันครับ

  -ศัตรูพืชพอมีแต่ไม่มาก ที่พบคือ เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยไฟ ที่ชอบมาดูดน้ำเลี้ยงตอนต้นยังเล็ก ในช่วงที่แล้งจัดๆ ฝนทิ้งช่วงนานๆ



   -สาเหตุที่ผมปลูกผักหวานเพราะผมขี้เกียจครับ ตอนเด็กๆผมอยู่ลพบุรีช่วงหน้าแล้งก็จะไปหาเก็บผักหวานป่า ตามป่าละเมาะ หรือชายเขา ไกลก็ไกล ร้อนมากช่วง เมษายน แดดโคตรร้อน มันจะมีอยู่ไม่กี่จุด และไม่มีการบอกกัน ถ้าไปช้าจะโดนเก็บไปก่อน เดินไปฟรี ถ้ารอให้มันออกช่อใหม่ก็ช้าไป จึงเป็นที่มาของการพยายามปลูกผักหวานของผม ตอนนี้หน้าแล้งผมมีผักหวานกินตลอด ทุกปี

   -สุดท้าย ถ้าข้อมูลทีประโยชน์กับท่าน ก็ขอยกความดีให้คุณพ่อของผม ที่ปลูกและดูแล ผมเพียงหาเมล็ดให้ท่านปลูกเท่านั้นเองครับ เมื่อสวนหลังบ้านผมมีผักหวานโตขึ้น ปีหน้าจะเอามารายงานผู้ที่สนใจครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น